Welcome to my blog, hope you enjoy reading
RSS

สารอาหารบำรุงสมอง


วิตามินและสารอาหารบำรุงสมอง

วิตามินและสารอาหารที่มีความสำคัญต่อสมอง ได้แก่

วิตามินบี 1 (Thiamine) มีความสำคัญต่อเซลล์สมองในการ
เผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเพื่อให้ได้พลังงาน

วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) เป็นโคเอนไซม์ที่ช่วยใน
การทำงานของสารสื่อประสาท

วิตามินบี 6 (Pyridoxine) มีความสำคัญต่อการทำงานของ
ระบบประสาท ช่วยในการสร้างสารเซโรโตนิน (Serotonin) ที่
ช่วยทำให้อารมณ์ดีความจำดี

วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อการทำงานของสารสื่อประสาท
ซึ่งจากงานวิจัยในวารสารทางโภชนาการระบุว่าการได้รับวิตา
มินบี 12 และโฟลิคแอซิดอย่างเพียงพอ จะช่วยลดอาการ
ความจำเสื่อมได้

วิตามินซี ช่วยการในดูดซึมธาตุเหล็ก การขาดวิตามินซีจะทำ
ให้อ่อนเพลียและเกิดอาการซึมเศร้าได้

แคลเซียมและแมกนีเซียม มีความจำเป็นต่อระบบประสาท
ส่วนกลางซึ่งต้องทำงานคู่กันจึงจะได้ผลดีที่สุด

เซเลเนียม (Selenium) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้
อารมณ์ดีขึ้น

กรดไขมัน DHA จากการวิจัยทางยุโรปพบว่า การรับประทาน
ปลามาก ๆซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมัน DHA จะช่วยป้องกันอา
การหลงลืมได้

ผักต้านมะเร็ง


มะเขือเทศ มีกรดพีคูมาริก(p–Coumaric acid)และกรดคลอโร
จีริก (Chlorogenic Acid) อยู่เป็นจำนวนมาก กรดเหล่านี้จะ
แย่งจับกับไนไตรท์ แล้วขจัดออกจากร่างกาย ก่อนที่ไนไตรท์
จะไปจับกับเอมีนส์กลายเป็นสารที่ก่อมะเร็งชื่อไนโตรซามีนส์
การทานมะเขือเทศสดอย่างน้อย7ครั้งต่อสัปดาห์ จะลดความ
เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ปอด และกระเพาะลงได้
ครึ่งหนึ่ง

พริก สารแคปไซซิน ในพริกช่วยลดพิษของสารก่อมะเร็งได้
ช่วยไม่ให้มีการจับตัวระหว่างไนไตรท์กับ เอมีนส์ซึ่งจะกลาย
เป็นสารอันตราย พริกยิ่งเผ็ดเท่าไรก็ยิ่งมีแคปไซซินมากเท่า
นั้น

ส้มและมะนาว ในส้มและมะนาวมีสารลิโมนีน (Limonene)
อยู่เป็นจำนวนมากซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นเอนไซม์ในร่างกาย
ให้เพิ่มขึ้นเพื่อสลายสารก่อมะเร็ง และกระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้ม
กันที่มีหน้าที่ฆ่าเซลล์มะเร็งมีความกระปรี้กระเปร่าขึ้น

กระเทียม กระเทียมช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกระ
เพาะอาหาร บางงานวิจัยระบุว่าสามารถลดได้ ถึง40%เมื่อ
กินมากพอสาร S- allylmercaptocysteine ช่วยลดการเกิด
มะเร็งในต่อมลูกหมาก (50%) และกระเทียมยังช่วยเพิ่ม ระ
ดับเอนไซม์ที่จะทำหน้าที่ล้างพิษของสารก่อมะเร็ง สารนี้จะ
มีขึ้นเมื่อทุบกระเทียมให้แตกก่อนแล้ววางทิ้งไว้ 10 นาที
ก่อนจะนำไปใช้ ไม่ควรกินกระเทียมขณะท้องว่างอาจจะเกิด
ระคายเคือง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องได้

ชะเอม พืชชนิดนี้มีความหวานมากกว่าน้ำตาล50เท่า มีสาร
สำคัญที่ชื่อกลีไซร์ไรซิน(glycyrrhisin) ที่จะช่วยปกป้อง
จากสารก่อมะเร็ง

ถั่วเหลือง มีสารต้านมะเร็งในปริมาณค่อนข้างสูง ที่ช่วยลด
ความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งที่เนื่องมาจากฮอร์โมนเช่น มะ
เร็งเต้านม นอกจากนี้ ถั่วเหลืองมีสารคล้ายฮอร์โมนเพศ
หญิงไปแข่งกับฮอร์โมนในร่างกาย เข้าสู่เซลล์โดยจับกับ
หน่วยรับบนเซลล์ที่เดียวกันแต่สารนี้เมื่อส่งสัญญาณให้
เซลล์เจริญเติบโตนั้นมีเพียง 1 ใน 1,000 เท่านั้น ทำให้
เซลล์เจริญเติบโตน้อยลง ลดการเจริญเติบโตของเนื้องอก
และป้องกันการเกิดมะเร็งสำหรับผู้ชาย ช่วยลดการเกิดมะเร็ง
ที่ระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม

ชาเขียว ใบชาเขียวได้มาจากการนำยอดใบชาสดผ่านกระ
บวนการอบเพื่อลดความชื้นโดยไม่ผ่าน การหมัก จึงมีสาร
กลุ่ม Polyphenol เหลืออยู่จำนวนมาก สารนี้ต่อต้านอนุมูล
อิสระได้มากกว่าวิตามินอี 20 เท่า และมากกว่าวิตามินซีถึง
500เท่า ใบชาเขียวมีสารพอลิฟินอล ซึ่งเป็นสารแอนติออก
ซิแดนท์ ที่มีบทบาทในการป้องกันโรคมะเร็ง งานวิจัยจาก
สถาบันวิจัยแห่งชาติญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า สารเคทีซิน
(catechin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในแทนนินของชาเขียว
สามารถลดอุบัติการของโรคมะเร็งได้ ดื่มชาเขียววันละ 4
แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชาแก่ทำให้ท้องผูก
ดื่มก่อนนอนอาจทำให้ไม่หลับ ชงชาไว้นานจะมีแทนนินออก
มามากทำให้มีรสฝาดไม่น่าดื่ม ปริมาณเหมาะสมจะช่วยย่อย
อาหาร ควรใช้น้ำเดือดใส่ในใบชา 1 ช้อนชา ตั้งทิ้งไว้ 3-5
นาทีก่อนดื่ม

กะหล่ำดอก เป็นผักตระกูลมัสตาร์ด มีสารที่สามารถดึงสารก่อ
มะเร็งออกจากเซลล์ โดยมี สารซัลโพราเฟน ซึ่งไปลดการ
ผลิตเอนไซม์ที่จะไปทำอันตรายสารพันธุกรรม DNAในเซล
พืชวงศ์นี้รวมทั้ง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่างๆ กะหล่ำดิบ
มีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแตสเซี่ยม กำมะถัน และเส้นใยมาก

กะหล่ำปลี ใบมีสารไดไทโอลไทออนส์ และสารกลูโคซิโน
เลทเมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง ออกฤทธิ์โดยเฉพาะต่อ
ต้านกับมะเร็งลำไส้ แต่หากกินมากไปจะทำให้เกิดคอหอย
พอกได้เพราะมีสารไปกั้นการดูดซึมไอโอดีนที่ ต่อมไทรอยด์
ผู้เป็นโรคไทรอยด์ไม่ควรบริโภคมากเพราะไปลดระดับไท-
รอยด์ฮอร์โมนในเลือดหาก กินติดต่อกันนานๆ มีอีกหลายสี
เช่นสีม่วงแดง ห้ามรับประทานกะหล่ำสีแดงสดๆเพราะมีเหล็ก
สูงมาก จะทำให้ท้องผูก

ขึ้นฉ่าย มีสารต้านมะเร็ง เช่น ทาไลด์และโพลีอเซทิลีน ทำให้
สารก่อมะเร็งหมดฤทธิ์ โดยเฉพาะที่เกิดจากบุหรี่ มีฤทธ์ลด
การสร้างอสุจิ ช่วยคุมกำเนิดลดอัตราการตั้งครรภ์ บางคน
อาจแพ้ได้หากกินก่อน หรือหลังการออกกำลังกายอย่างหนัก

คะน้า อยู่ในวงศ์เดียวกันกับผักกวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
ผักกาดขาว บร็อคโคลี และผักกาดหัว คะน้ามีสารอินโดลส์
ยับยั้งการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งที่เต้านม โดยการไปจับ
กับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนซึ่งกระตุ้นการเกิดเนื้องอก
และมะเร็งลำไส้ มีสารต้านอนุมูลอิสระเบต้าแคโรทีน และ
วิตามินซีสูงมาก ทำให้มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งที่มีประ
สิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีพืชผักอีกหลายชนิดที่มีคุณสมบัติ
ในการต่อตัานมะเร็ง เช่น ขมิ้น ข่า เมล็ดข้าวโพด ขิง แครอท
ชะพลู ดีปลี ตะไคร้ แตงกวา ใบบัวบก ผักชี ผักชีฝรั่ง ฟักทอง
ใบมะกรูด มะเขือยาว หรือ มะเขือม่วง มะระจีน มะระขี้นก
มันเทศ ต้นหอม และหอมใหญ่ โหระพา เป็นต้น

ประโยชน์ของอะโวคาโด


AVOCADO (อะโวคาโด)
หลายๆ คนคงเคยได้ลองลิ้มรสผลไม้จากดินแดนอเมริกาใต้อย่าง
"อะโวคาโด" ผลไม้รูปทรงรีสีเขียวเข้มเนื้อในสีเหลืองอ่อนกันมา
บ้างแล้วซึ่งก็อาจจะมีทั้งคน
ชอบและไม่ชอบเนื้อเนียนๆและรส
ชาติที่ออกจะมันๆของผลอะโวคาโด
รสชาติของผลอะโวคาโด
ออกจะมันๆ นั้น ก็เนื่องจากในเนื้อของอะโวคาโดนั้น
มีปริมาณไข
มันสูงแต่ไขมันนั้นเป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย เพราะเป็นกรดไขมัน

ที่ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ชื่อว่า"กรดไขมันโอเมก้า 9" มีอยู่ในปริมาณ
สูงเช่นเดียว
กับในน้ำมันมะกอกเมื่อกินผลอะโวคาโดเป็นประจำก็
จะช่วยลดโดคเลสเตอรอล
ในเส้นเลือดลงได้ด้วย รวมทั้งยังให้
พลังงานสูง แต่มีน้ำตาลต่ำ


ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงสามารถกินได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ยัง
มีโปรตีนสูงซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย วิตามินสูง ทั้ง
วิตามินอี วิตามินเอ วิตามินบี
และวิตามินซี และยังให้กากใยมาก
จึงเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายอย่างมาก
ต้นอะโวคาโดนั้นสา-
มารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศหนาวดังนั้นในตอนนี้ทาง
ภาค
เหนือของประเทศไทยเราก็เริ่มมีการส่งเสริมให้ปลูกอะโวคาโด
กันมากขึ้น เพราะถือว่าเป็นอาหารสุขภาพและเริ่มเป็นที่รู้จักของ
นักกินมากขึ้นโดยสามารถ
นำมาทำเป็นอาหารได้หลายอย่างไม่
ว่าจะกินสดๆหรือนำไปใส่ในสลัดหรือทำเป็น
ซอสอะโวคาโดก็
อร่อยได้เช่นกัน

วงจรการมีประจำเดือน















การมีประจำเดือนนั้นทำให้ผู้หญิงเรามีอาการ
อย่างไรเกิดขึ้นกับผิวของเราบ้าง


แบ่งเป็น5ระยะดังนี้ค่ะ


1.
ระยะไข่ตก ผิวจะมัน หมองคล้ำ
การอุดตันของไขมันจะเริ่มเกิดขึ้น


2.
ระยะก่อนประจำเดือนมา สภาพผิวจะไม่คงที่
บางครั้งก็มันบางครั้งก็แห้งกร้านและอาจเกิดการ
แพ้เป็นผื่นแดงได้ง่าย ระยะนี้สาวๆไม่ควรออก
กำลังกายหักโหม


3.
ระยะวันนั้นของเดือน ช่วงวันนั้นของเดือนผิว
จะหมองคล้ำไม่สดใสอารมณ์ไม่ปกติแปรปรวน
และตัวบวมน้ำ


4.
ระยะประจำเดือนเพิ่งหมด ผิวเริ่มกลับเข้าสู่
สภาพปกติปัญหาผิวต่างๆที่เกิดขึ้นเริ่มคลี่คลาย


5.
ระยะหลังมีประจำเดือน ผิวช่วงนี้จะดี เรียบเนียน
แข็งแรง เหมาะที่จะลองเครื่องสำอางใหม่ๆ

อายุของเครื่องสำอาง

อายุของเครื่องสำอาง

เครื่องสำอางแต่ละชนิดมีอายุการใช้งานไม่เท่ากันนะค่ะ

-วันหมดอายุของเครื่องสำอาง


รองพื้น
หมดอายุ หลังจากเปิดใช้ 1ปี

แป้งแข็ง แป้งฝุ่น บลัช อายแชโดว์
หมดอายุหลังเปิดใช้ 2ปี

มาสคาร่า อายไลท์เนอร์
หมดอายุหลังเปิดใช้ 3-6เดือน

ดินสอเขียนคิ้ว ตา ปาก
หมดอายุหลังเปิดใช้ 2-3ปี

ลิปสติก
หมดอายุ หลังเปิดใช้ 2ปี

-วิธียืดอายุของเครื่องสำอาง

รองพื้น
เก็บไว้ในตู้เย็น

แป้งต่างๆ บลัช อายแชโดว์
เก็บไว้ในที่แห้ง

มาสคาร่า อายไลท์เนอร์
ควรปิดฟาให้แน่นและเก็บในที่แห้ง

ดินสอต่างๆ
เก็บไว้ในตู้เย็น

ลิปสติก
เก็บในที่แห้ง หรือในตู้เย็นเลือกเก็บอย่างใดอย่าง
หนึ่ง
ไม่ควรเก็บสลับกันทั้งที่แห้งและที่ตู้เย็นนะค่ะเพราะ
อุณภูมิที่
เปลื่ยนแปลงบ่อยๆจะทำให้ลิปสติกเสื่อมคุณภาพ
ได้เร็วกว่าปกติ

ทาเล็บสีอะไรดีน๊า

"รู้ไหมว่าเราควรทาเล็บสีอะไร"

สาวที่มีผิวขาวชมพู เหมาะมากที่จะทาเล็บด้วยสีชมพู
อมน้ำตาล ชมพูอมม่วง หรือสีโทนเย็นทั้งหลายเพราะ
สีเหล่านี้จะทำให้คุณดูอ่อนหวานมากขึ้น


สาวที่มีผิวขาวเหลือง เหมาะมากที่จะทาเล็บด้วยสีชมพู
อมส้ม สีน้ำตาลทอง หรือสีสดใส เพราะจะช่วยขับให้เล็บ
มือดูสดใสยิ่งขึ้น


สาวที่มีผิวคล้ำอมเหลือง เหมาะมากที่จะทาเล็บด้วยสีน้ำ
ตาลทองเข้ม สีแดงสด หรือสีทอง เพราะสีเหล่านี้จะช่วย
ขับให้คุณดูเป็นมีเสน่ห์ลึกลับน่าค้นหา


สาวที่มีผิวคล้ำดำแดง เหมาะมากที่จะทาเล็บสีแดงเข้ม
สีชมพู เพราะว่าจะช่วยส่งเสริมให้คุณมีพลัง ฉลาด
ทันคนมากขึ้น

สังกะสี (Zinc)

สังกะสีคืออะไร
ปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์ต้องการสารอาหารหลัก 5หมู่คือ โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต
ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
เพื่อให้
การทำงานของร่างกายเป็นปกติ โดยเกลือแร่หรือแร่ธาตุ
นั้นเป็
นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายรองจากน้ำไขมัน และโปร
ตีน ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับองค์
ประกอบที่ดีของชีวิตสามารถ
แบ่
งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทแรกคือแร่ธาตุปริมาณมาก
(Macro Minerals) ใช้เรียกแร่ธาตุที่ร่างกายต้
องการมากกว่า
100 มิลลิกรัมต่อวัน เช่นแคลเซียม
ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
แมกนีเซียม เป็นต้น โดยจะพบแคลเซียมในร่างกายมาก
ที่สุด
รองลงมาเป็นฟอสฟอรัส ส่วนแร่ธาตุประเภทที่สอง คือ แร่ธาตุ
ปริมาณน้อย
(Trace Minerals)โดยแร่ธาตุกลุ่มนี้ร่างกายต้อง
การเพียงเล็กน้อยแต่ไม่สามารถ
ขาดได้เลย เพราะมีความสำคัญ
ต่
อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายกล่าวคือ ถ้าขาดสาร
อาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป ทั้งๆ ที่ปริมาณที่จำเป็น
ต่อ
สุขภาพต่อวันมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเอง

สังกะสีจัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย(Trace Minerals)
มีชื่ออีก
อย่างว่า ซิงค์(Zinc)สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Zn ประมาณ
ร้อยละ 90ของสังกะสี ในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้
ามเนื้อ อีก
ร้อยละ 10 อยู่ที่ตับอ่อน ตับ เลือด โดยส่วนที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้น
ร้อยละ 80 อยู่ในเม็ดเลือดแดง และร้อยละ20 อยู่
ในน้ำเลือด ส่วน
ใหญ่ของสังกะสีที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่
ายออกทางอุจจาระ
ซึ่งเป็นผลรวมของ สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึ
มจากน้ำ
ย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่ายสังกะสี ออกทาง
ปัสสาวะโดยจับกับ กรดอะมิโน ได้อีก
ด้วย ซึ่งในคนปกติจะขับถ่าย
สังกะสี ออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม

ประโยชน์ของสังกะสี
สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆคือเป็นสาร
อาหารทีไม่ให้พลัง
งาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำ
งานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการ
สังเคราะห์กรดนิวคลิอิก
และโปรตีนเอนไซม์ในร่
างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจกล่าวได้
ว่าเอนไซม์ที่เป็
นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกาย
เกือบทุก
ชนิดต้องการสังกะสีเป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้
ดีดังนั้นสังกะสีจึงมีความ
สำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะใน
ร่างกายเรา โดยอาจสรุปขบวนการที่ สังกะสี มีส่วนร่วมในการ
ทำงานในร่
างกายมนุษย์ได้ดังต่อไปนี้

1. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส
(Alcohol Dehydrogenase)ซึ่งเอ็นไซม์นี้มีหน้าที่
ในการกำจัด
แอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นสารพิษในตับ (Liver)

2. สังกะสีร่วมทำงานกับเอ็นไซม์แลคเตตและมาเลตดีไฮโดรจีเนส
(Latate and Malate Dehydrogenase)ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ร่างกาย
ใช้
ในขบวนการสร้างกำลังงาน

3. สังกะสี มีส่วนร่วมทำงานกับเอ็นไซม์ อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส
(Alkaline Phosphatase) ซึ่งจำเป็นในขบวนการสร้างกระดู

และฟัน

4. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ซูเปอร์อ๊อกไซด์ดิสมิวเทส
(Superoxide Dismutase; SOD) ซึ่งเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อก
ซิ
เดชั่น(Potent Anti-oxidants)ที่มีอยู่ในร่างกาย

5. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ คาร์บอร์นิคแอนไฮเดรส
(Carbonic Anhydrase)ซึ่งพบว่าเอ็นไซม์นี้มีส่วนเกี่
ยวข้องใน
การทำงาน
อย่างสมดุลของระบบประสาทสมอง

6. สังกะสี จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนและสร้างคอลลา
เจน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเจริ
ญเติบโตของเด็ก

7. สังกะสี ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามิน เอ(Vitamin A) ไว้
ได้ดีขึ้น และช่วยให้เซลล์สามารถนำเอาวิ
ตามินเอไปใช้ประโยชน์
ได้ดีขึ้
นด้วย ซึ่งช่วยทำให้เซลล์ผิวพรรณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ๆ มีสุข
ภาพดีและพบว่ายัง
เกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของปริมาณไข
มันในผิวหนั
ง และควบคุมปัญหาการเกิดสิวจากการอุดตันของไข
มันได้ด้วย

8. สังกะสี มีส่วนสำคัญในขบวนการสร้างกรดนิวคลีอิค
(Nucleic acid)
ทั้งดีเอ็นเอ(DNA)และอาร์เอ็นเอ(RNA)ซึ่งพบว่า
ในระยะที่ร่างกายต้
องการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ไม่ว่าหลังผ่าตัด, เป็น
แผลต่างๆ ยิ่งจำเป็นต้องมีขบวน
การนี้มากขึ้นเสมอ

9. สังกะสี ยังช่วยในการปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกั
ของร่างกาย โดยเฉพาะควบคุมการทำงานของเม็
ดเลือดขาวชนิด
ทีลิมโฟไซต์
(T-lymphocyte)ให้ทำงานป้องกันเชื้อโรคแปลก
ปลอมได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพมากขึ้น

10. สังกะสี มีความสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของฮอร์โมน
อินซูลิน
(Insulin) และควบคุมการทำงานของอวัยวะรับสัมผัส
(Taste Sensation) ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพมากขึ้น

11. สังกะสี จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการเจริญของระบบ
สืบพันธุ์ และช่วยให้ต่อมลูกหมากทำหน้าที่
ได้ถูกต้องป้องกันการ
เป็นหมัน

ปริมาณความต้องการสังกะสี
จากคุณสมบัติของสังกะสีข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการ
ทำงานเกือบ
ทุกระบบในร่างกายล้วนแต่ต้องการ สังกะสี เป็นส่วน
ประกอบในการทำงานด้วย
กันทั้งนั้น จึงนับได้ว่าสังกะสีเป็นแร่
ธาตุที่ร่างกายต้องการเป็
นประจำไม่สามารถขาดได้เลย โดยปริ
มาณความต้องการ สังกะสี ของแต่ละคนจะแตกต่างกันตาม
เพศ
วัยและภาวะของร่างกาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริการได้
ทำการวิจัย
และกำหนด
ความต้องการสังกะสี (Zinc) ปกติของมนุษย์ไว้ตาม
ตารางข้างล่
างนี้

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน
(Daily RDAs For Zinc)


อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน

แหล่งของสังกะสี
สำหรับร่างกายมนุษย์แล้วไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์สังกะสี
ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้
ได้รับสารดังกล่าว ซึ่ง
แหล่งอาหารตามธรรม
ชาติที่มีปริมาณสังกะสีสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์
ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอย
นางรมเป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดี
เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผักโดยมีการวิจัย
พบว่าอาหารจำพวก
เนื้อเมื่อถูกย่
อยเป็น กรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึม
สังกะสี ได้ดีขึ้น โดยธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มีสังกะสี อยู่
ปริมาณน้อย
ส่วนผัก ผลไม้แทบไม่มีปริมาณสังกะสีอยู่เลย


โดยในการบริโภคอาหารประจำวัน เราควรเลือกรับประทานอา
หารที่
ให้ปริมาณ สังกะสีเพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน อย่างไร
ก็ตามในการ
ดำเนินชีวิตประจำวันปกติของเราทุกวันนี้ ยังมีปัจจัย
หลายประการที่ทำให้
ร่างกายได้รับปริมาณสังกะสี ไม่เพียงพอ
ได้ตลอดเวลา ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่

1. การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณ
สังกะสีต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง(Copper) มากเกินไป,
พวกไฟเบอร์, ไฟเตต
(Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol),
ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึ

สังกะสีผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้

2. อายุที่มากขึ้น (Aging) ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสี ลดลง

3. หญิงในระยะตั้งครรภ์(Pregnant)ต้องการสังกะสี มากเป็นพิเศษ

4. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานานทำให้ขาดธาตุ
สังกะสี ได้

5. ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุสังกะสี เป็นพิเศษ เช่น การติด
เชื้อเรื้อรัง
(Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง(Alcoholism)
ผิวหนังอักเสบ(Psoriasis)
ตับแข็ง (Cirrhosis)

6. โรคพันธุกรรมที่ทำให้การดูดซึมสังกะสีไม่ดี พบในเด็กเล็ก
เรียกว่า
Acrodermatitis Enteropathica
(โรคผิวหนังอักเสบและผิดปกติทางจิตใจ)

อาการขาดสังกะสี
ซึ่งถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสี เป็นเวลานาน จะเป็น
ผลให้เกิด
อาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

1. การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้าตัวเล็ก แคระแกรนหรือหยุดชะงัก
เป็นหนุ่มเป็นสาว

2. ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปาก และอวัยวะ
เพศต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดง ต่อ
มาจะมีลักษณะ
เป็นเม็ดพุพอง

3. ระบบทางเดินอาหารทำให้มีอาการเบื่ออาหารการรู้รสลดน้อยลง

4. ระบบประสาทอาจมีอาการซึมเศร้าหงุดหงิด ขาดสมาธิ
เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้

5. ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย

6. มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

สรุปประโยชน์ของสังกะสี
ในขณะที่ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสังกะสี ที่เหมาะสม เพียงพอต่อ
ความ
ต้องการตามแต่ ละสถานะของแต่ละคนแล้ว นอกจากไม่
ต้องเผชิญกั
อาการขาดธาตุสังกะสี ดังกล่าวแล้วกลับเป็นประ
โยชน์ต่อสุ
ขภาพของเราอย่างมากมาย ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์
จากแร่
ธาตุสังกะสีได้ดังนี้

1. ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกายช่วยต่อสู้กับโรคภัย
ไข้เจ็บที่
จะมาแผ้วพานร่างกายคนเราจากการศึกษาหลายชิ้นให้
ผลว่าถ้าร่างกาย
ได้รับสังกะสีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการ
แล้
วจะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราอยู่ในสภาพสมบูรณ์

2. ป้องกันมะเร็ง พบว่าผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีปริมาณ
สังกะสี
ต่ำกว่าคนปกติ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สังกะสี
สามารถยับยั้งการ
เจริญของเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมากได้

3. ป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นใน
ผู้สู
งอายุที่เรียกว่า maculardegeneration นั้นพบว่า เกิดจาก
การขาดธาตุสังกะสี

4. ป้องกันและรักษาโรคหวัดพบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัด ถ้ารีบรับประ
ทานธาตุ
สังกะสี ทันทีจะช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำ
นวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้
วย

5. ช่วยคงสภาพการรับรู้รส กลิ่นและสายตาคนเราเมื่อมีอายุ
มากขึ้น การรับรู้รสอาหารมักจะเปลี่ยนไป บางคนอาจไม่เจริญ
อาหารและบอกว่า
"อาหารไม่อร่อย" นั้น อาจมาจากการรับรู้ รส
ของอาหารเปลี่
ยนไปเพราะขาดธาตุสังกะสีก็ได้

6. กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้นคนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลใน
กระเพาะ
อาหาร การให้ธาตุสังกะสี จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่า
คนที่
ไม่ได้รับธาตุสังกะสี

7. เพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชายการผลิตสเปิร์มของผู้ชายต้อง
การธาตุสังกะสีมาก จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี
สังกะสีมาก การสร้างฮอร์โมนเพศชาย
ก็ต้องการธาตุสังกะสี
เช่นกัน

8. ช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมันในผู้ชายสังกะสี มีส่วนสำ
คัญในการสร้าง
สเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุ สังกะสี
วันละ 50 มก.จะทำให้ปริมาณน้ำ
เชื้อเพิ่มมากขึ้นได้

9. ป้องกันต่อมลูกหมากโต คนสูงอายุมักประสบปัญหาต่อมลู
หมากโต แพทย์จึง
ให้สังกะสีในการรักษาซึ่งก็ได้ผลดี

10. รักษาสิว คนหนุ่มสาวมีปัญหาเรื่องสิว ฝ้าเวลาสิวอักเสบจะ
ไม่น่าดู มีการให้
ธาตุสังกะสีแก่คนที่ขาดธาตุสังกะสีและเป็นสิว
ปรากฏว่าได้ผลดี สิวจะหายไป

11. ป้องกันผมร่วง สังกะสี จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์
ของร่างกายของ
เส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและกิน สังกะสี
ก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้
นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตาม
อายุนั้นใช้
ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม

12. เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผล
และติ
ดเชื้อง่ายสังกะสีจะช่วยให้แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและ
ช่
วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย

13. ลดอาการอักเสบและช่วยรักษาโรครูมาตอยด์อาไทรลิส พบ
ว่าคนเป็นโรคนี้
จะมีปริมาณสังกะสีในเลือดน้อยกว่าคนทั่วไป
จากการทดลองให้ธาตุสังกะสี
ไปพบว่าอาการดีขึ้นมากในเรื่อง
ข้อต่อต่
างๆ ที่บวม, ข้อแข็งหรือยึดติด

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของธาตุสังกะสีมีมากมายต่อร่างกายคนเรา
แต่อย่างไร
ก็ ตามในการบริโภค สังกะสี ควรกระทำในขนาดพอดี
เหมาะสมแก่วัยและสภาวะ โดยถ้าร่างกายคนเราได้รับปริมาณ
สังกะสีที่มากเกินพอดี จะก่อให้เกิดผลเสีย
ต่อสุขภาพได้ ซึ่งโทษ
ของการได้รับสังกะสี มากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการต่
างๆ ดังนี้

1. ภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อม และสังกะสี ยังขัดขวางไม่ให้ร่างกาย
ใช้ธาตุ
ทองแดงได้เต็มที่เป็นผลให้ระดับทองแดงในเลือดต่ำทำ
ให้เกิดอาการซีด
เม็ดเลือดขาวต่ำ

2. โดยถ้าร่างกายได้รับ สังกะสีเกินกว่า 2 กรัมขึ้นไป จะเกิดอา
การระคายเคือง
ต่อระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลันทำให้
ปวดท้อง และอาเจียนได้

3. ในกรณีที่บริโภคมากกว่าวันละ 100 มก.เป็นเวลานานจะทำให้
ระดับไขมัน
HDL (High-density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชั้น
ดีลดลง

โดยสรุปแล้วถึงแม้ว่า สังกะสีจะเป็นแร่ธาตุกลุ่มที่ร่างกายต้องการ
เพียงเล็กน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับแร่ธาตุอื่น แต่ความสำคัญต่อ
ร่างกายมิได้มี
เพียงเล็กน้อยแต่อย่างใด กลับเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ
ยิ่งต่
อกระบวนการทำงานทุกๆ ระบบของร่างกาย โดยแหล่งอา
หารธรรมชาติที่มีปริ
มาณสังกะสีสูง คือ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์
และอาหารทะเลเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายได้รับสังกะสีไม่เพียง
พอก็จะก่อให้เกิ
อาการเจ็บป่วยหรือโรคต่างๆได้มากมาย ใน
ขณะเดียวกันถ้าร่างกายได้รับสังกะสี เป็นปริมาณที่เกินพอดีก็จะ
ก่
อโทษให้กับร่างกายได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นควรเลือกเดินทางสายกลางบริโภคอาหารที่ให้แร่ธาตุ
สังกะสี ในปริมาณที่พอเพียงเหมาะสมต่อร่
างกายนอกจากจะไม่
ต้องเผชิญกับโรคที่
เกี่ยวกับการขาดธาตุสังกะสีแล้ว ยังมีประ
โยชน์ช่วยป้องกันโรคอื่
นๆ ได้อีกด้วย

แคลเซียม (Calcium)

หากจะให้บอกถึงเกลือแร่สักตัวหนึ่งที่มีประโยชน์มากๆ ต่อร่างกาย
หนึ่งในนั้นจะต้องมีแคลเซียม เรารู้จักแคลเซียม มานาน
ในแง่ของ
การช่วยให้กระดูกแข็ง
แรง ไม่เพียงเท่านั้นเมื่อไม่นานนี้มี งานวิจัย
ตัวหนึ่งได้พบว่า แคลเซียม สามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อความ
ดันโลหิตสูงอาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และ
มะเร็งลำไส้ แต่ก็เป็นที่น่าเสีย
ดายที่คนส่วนใหญรับประทานแคล
เซียม น้อยกว่าครึ่ง
ของที่ควรจะได้รับต่อวัน

สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงได้ก็สา
มารถทดแทน
ง่ายๆได้ด้วยอาหารเสริมแคลเซียมที่มีจำหน่ายอยู่
ทั่
วไป และราคาไม่แพงโดยมักจะอยู่ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอ
เนต แคลเซียมกลูโคเนต แคลเซียมซิเตรด แคลเซียมซิเตรดมาเลต
แคลเซียมแลคเตต และแคลเซียมฟอสเฟตและปริมาณที่ร่างกาย
จะได้รับแคลเซียมจากอาหารเสริมเหล่านี้ก็จะขึ้
นกับว่าในแต่ละ
แบบจะให้แคลเซียม แก่ร่างกายเท่าไร เช่นแคลเซียมคาร์บอเนต
จะให้ปริ
มาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ40%แคลเซียมกลูโคเนต
จะให้ปริมาณแร่
ธาตุ แคลเซียมประมาณ9%ทั้งนี้ยังขึ้นกับการดูด
ซึมเข้
าสู่ร่างกายด้วย มีการค้นพบว่าแร่ธาตุแคลเซียม ที่ได้จาก
แคลเซียมซิเตรดจะถูกดู
ดซึมได้ดีกว่าที่ได้จากคอร์บอเนต

"แคลเซียม" เป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยใน
ร่างกายคน 50
กิโลกรัม จะมีแคลเซียม อยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่ง
เกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดู
กและฟัน ดังนั้นในเวลากล่าวถึงแคล
เซียม จึงมักจะนึกถึงเฉพาะกระดูกเท่
านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมี แคล
เซียม ส่วนอื่นที่อยู่ในเซลล์ที่ไม่
ใช่กระดูกอีกประมาณร้อยละ 1
สำหรับหน้าที่ๆ
สำคัญของแคลเซียม ก็คือ การสร้างกระดูก ซึ่งกระ
ดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้
างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะ
ของร่
างกายให้สวยงามและยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็น
เกราะป้องกันอวั
ยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความ
กระทบ
กระเทือน อย่างไรก็ตาม แคลเซียม มิใช่เป็นเพียงตัวเสริม
สร้
างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการทำ
งานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วยได้แก่การช่วยการแข็ง
ตัวของเลือด ทำให้เลือดที่
ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุ
ไหลได้นอกจากนี้แคลเซียมยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของ
กล้
ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
ปกติและการส่งสัญญานประสาทที
่ถูกต้อง รักษาความสมดุลของ
กรดด่างในเลื
อดและความดันโลหิตให้ปกติ

แคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างไร
สำหรับการทำงานของแคลเซียมจะเริ่มจากเมื่อร่างกายได้รับแคล
เซียมจากอาหาร ก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียมแตกตัว
ได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้
ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดย
อาศัย Calbindin-Dซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้
ประมาณร้อยละ 20-40หลังจากนั้นแคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่
าน
ไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้
วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะ
เข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับ
ออกทางปัสสาวะ

โดยปกติทั่วไปแม้กระดูกจะไม่ยืดตัวให้เห็นแต่จะมีแคลเซียมผ่าน
เข้าออกจากกระดูก
ถึงวันละประมาณ 700 mg ซึ่งแม้ว่าเกลือแร่ที่
ติดอยู่
ในกระดูกดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้วแคล
เซียมในกระดูกจะถูกดึงออกพร้อมกั
บขบวนการละลายกระดูก
(resorption) และเสริมเข้าไปพร้อมกับการสร้
างกระดูกใหม่
(formation)อยู่ตลอดเวลาทั้งนี้ขึ้นกับภาวะโภชนาการ ปริมาณ
แคลเซียมความสมดุลของฮอร์โมนและวัย

โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะรักษาระดับ
แคลเซียมในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวั
ยวะต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่
ได้อย่างปกติเปรี
ยบให้ง่ายก็เสมือนว่า ระดับ แคลเซียมที่ปกติ
ก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่
สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวันโดย
แคลเซียมส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและแคลเซียมที่ใช้เพื่อ
การซ่อมแซมกระดู
กเปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวันแคลเซียม
ในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียมรับจากอาหาร
เสมือนรายได้ประจำวั
น ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือ
เก็บในธนาคารซึ่งเปรี
ยบเสมือนเป็นการสะสมแคลเซียมในกระดูก
ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้
้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้
จ่
ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุลซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินใน
ธนาคารก็จะร่
อยหรอไป นั่นก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับ
แคลเซียมไม่พอเพียงต่อความพยายามรั
กษาระดับแคลเซียม ให้
ปกติ จึงต้องละลายแคลเซียมจากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือดทำ

ให้แคลเซียมในกระดูกค่อยๆลดลงสุดท้ายแคลเซียมหรือเงินที่ติด
กระเป๋าอยู่ก็
ลดลงจนไม่พอใช้นั่นเอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการ
สะสมแคลเซียม ของร่างกายมนุษย์นั้น
เริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกใน
ครรภ์มารดาโดยในแต่ละวัยร่
างกายสามารถสะสมปริมาณแคล
เซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้

► เด็กแรกเกิด-9ขวบ มีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้
100มิลลิกรัม/
น้ำหนักตัว/วัน

► เด็กอายุ 10 ขวบมีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้ 100
-150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

► ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200-
400มิลลิกรัม/
น้ำหนักตัว/วัน

► ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสมแคลเซียม
ได้ 50-100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

► ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้ 0
มิลลิกรัม/
น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่าหลังจากอายุ 30 ปีไป
แล้ว ร่างกายจะไม่สะสม
แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม
แคลเซียมให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับ
แคลเซียม ในกระดูก

ด้วยคุณสมบัติการทำงานของแคลเซียมดังกล่าวนับได้ว่าแคล
เซียมมีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์
อย่างยิ่ง ซึ่งในแต่ละ
สภาวะของมนุษย์นั้น
แคลเซียม ได้ให้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ
กันดังนี้

ความต้องการของคนแต่ละวัย

หญิงตั้งครรภ์
สำหรับหญิงมีครรภ์แล้ว แคลเซียมนับได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่
สภาวะการ
ตั้งครรภ์อย่างมากโดยหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับ
แคลเซียมมากกว่าคน
ธรรมดาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องถ่าย
ทอดแร่ธาตุ
ดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของ
ทารกในครรภ์ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมี
โอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลน
แคลเซียมถ้าไม่สามารถบริโภคอาหารที่ให้
ปริมาณแคลเซียม ได้
เพียงพอต่อทั้งแม่และลูกได้ บ่อยครั้งจึงพบว่าหญิงมีครรภ์
จะมีอา
การกล้ามเนื้อ
ปวดเกร็งในบริเวณต่างๆของร่างกายที่พบบ่อยคือ
บริเวณน่อง โดยจะเกิดขึ้นทั้งๆที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดิ
นมาก
อันเป็นผลมากจากการขาด แคลเซียม นั่นเอง จากการศึกษาพบ
ว่าหญิงตั้งครรภ์
เป็นตระคริวถึงร้อยละ 26.8 และส่วนใหญ่เริ่มมีอา
การตั้งแต่
อายุครรภ์ประมาณ 25สัปดาห์ และอาการดีขึ้นได้อย่าง
ชั
ดเจนหากได้รับการเสริม แคลเซียม ดังนั้นแคลเซียม จึงเป็น
แร่ธาตุที่จำเป็นยิ่งต่
อสภาวะการตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยให้
พั
ฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็ปกติแล้วยังมีส่วนช่วยรัก
ษาเสถี
ยรสภาพความหนาแน่นกระดูกในแม่ซึงจะช่วยลดความ
เสี่ยงในการเกิ
ดโรคเกี่ยวกระดูกหรือโรคกระดูกพรุนในภายหลังได้

วัยเด็ก
เด็กๆ ต้องการแคลเซียมมากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เพื่อนำ
มาเสริมสร้าง
ความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่นๆเพื่อ
ใช้เป็นโครงสร้างของร่
างกายโดยการสะสมแคลเซียมในเด็กที่หัด
พูดจะช้าแต่จะเพิ่
มขึ้นเรื่อยๆในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจากการศึกษาพบ
ว่าถ้าปริมาณแคลเซียมในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการ
สะสม
เกลือแร่
ในกระดูกและความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิด
โรคกระดูก
อ่อนหรือโรคกระดูกค่อมงอได้โดยเด็กจะมีอาการเหงื่อ
ออกบริ
เวณศีรษะมากเกินไปการนั่งคลาน เดินทำได้ช้า
นอนไม่หลับ กระดูกขาของเด็กที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเมื่อ
รับน้ำหนักตัวที
่เพิ่มมากขึ้นตามอายุเป็นผลให้ขาโก่ง กระดูกซี่
โครง
โค้งงอกระดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติซึ่งอาการนี้เมื่อเกิด
ขึ้นกั
บเด็กแล้วไม่สามารถรักษาให้หายคืนปกติได้ นอกจากจะทำ
การผ่าตัดใหญ่เท่านั้
นสิ่งที่สำคัญของช่วงอายุนี้คือ การพัฒนา
รูปแบบการบริโภคให้
สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ร่างกายต้อง
การให้เพียงพอเพื่อพัฒนาความหนาแน่นของกระดูกให้การเติบ
โตของเด็กเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่
วยลดความเสี่ยง
การเป็น
โรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้

วัยหนุ่มสาว
จากการศึกษาวิจัยแสดงว่า ช่วงอายุ 11-24 ปีเป็นช่วงที่ร่างกาย
ดำเนิ
นขบวนการก่อรูปกระดูกโดยถ้าร่างกายได้รับ แคลเซียมใน
ปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้
องการ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาใน
ภายหลั
งซึ่งถ้าขาดอย่างร้ายแรงจะก่อให้เกิดโรคกระดูกอ่อนมี
อาการเจ็บกระดูกเจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูก
หัก กระดูกจะสมานให้เหมือนเดิมได้ช้
าสิ่งสำคัญคือ การรักษา
ระดับการบริโภคอาหารให้
สอดคล้องกับระดับแคลเซียมที่ต้อง
การเพื่อป้องกันโรคเกี่
ยวกับกระดูก ถ้าจะต้องมีการสูญเสียไปใน
ภายหลังของช่วงชีวิต โดยถ้าเราได้รับ แคลเซียม ตั้งแต่อยู่ในวัย
หนุ่ม
สาวหรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียงอายุการสึก
หรือผุกร่
อนตามธรรมชาติก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนที่อยู่
ในวัยเดียวกั
นที่บริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอในวัยเด็กและวัย
หนุ่
มสาว

วัยสูงอายุ
คนเราปกติจะมีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกเมื่อเรามีอายุ
มากขึ้นเพราะว่าเมื่ออายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม
แคลเซียมอีกต่อไปโอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดู
กจะสูงถ้า
ร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมอย่าง
เพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หญิงวั
ยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสียกระ
ดูกในช่
วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือนเนื่องจาก
การลดลงของฮอร์โมน oestrogens และประสิทธิภาพในการสร้าง

Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรค
กระดูกพรุนสูงโดยเป็นโรคที่เป็
นผลมาจากการขาดแคลน แคล
เซียม ซึ่งบางครั้งอาจทำให้กระดูก
หักได้เนื่องจากแบกรับน้ำหนัก
ตั
วไม่ไหว และในกรณีที่ร้ายแรงจะก่อผลเสียต่อกระดูกสันหลัง
กระดูกต้นขา และกระดูกแขนท่อนนอกได้อีกด้วย โดยโรคดัง
กล่าว
จะไม่แสดงอาการใดๆให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดู
หักดังนั้นคนในวัยสูง
อายุที่มีการเสริมแคลเซียม ให้กับกระดูก
อย่างเพียงพอจะช่วยยับยั้งการสูญเสีย
กระดูกในช่วงนี้ได้ การ
เผชิญกับการผุกร่อนของกระดู
กจะน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้อง
เผชิญกับโรคที
่เกี่ยวกับกระดูกเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองก็น้อยลงหรือ
อาจไม่
เกิดขึ้นเลยก็ได้จะเห็นได้ว่า แคลเซียม มีความจำเป็นสำ
หรับคนทุกเพศทุ
กวัยด้วยกันทั้งนั้น แต่ปริมาณความต้องการ
แคลเซียม ของร่างกายจะแตกต่างกัน
ในแต่ละวัย ซึ่งสถาบันสุข
ภาพแห่งชาติ
ของอเมริกา(National Institute Health)แนะนำ
ปริมาณของแคลเซียม ที่เหมาะสมในแต่ละวัย ดังนี้

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน

► เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับ 800– 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

► วัยรุ่น (11-25 ปี) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

โครเมียม(Chromium)

โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตที่มี
สุขภาพที่ดีมันมีความจำเป็นต่อขบวนการแตกของโมเลกุลโปรตีน
ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรตรองจาก แคลเซียม แล้ว โครเมียม เป็น
แร่ธาตุที่ได้รับความนิยม
มากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็น
ประจำและยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200
ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาล
ในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์
โบไฮเดรต)ในงาน
วิจัยพบว่า โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่
า GTF
(Glucose tolerance factor)โดยทำงาน
ร่วมกับไนอาซิน และกรด
อะมิโน อีกหลายชนิด นอกจากนั้นโครเมียมอาจมีบทบาท
ในการ
เพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับคลอเรสเตอ
รอล ทั้งหมด

โครเมียมจะกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการ
เปลี่ยนน้
ำตาลกลูโคสให้ เป็นพลังงานและขบวนการสังเคราะห์
กรดไขมันและคลอเรสเตอรอล จึงดูเหมือนว่า โครเมียม จะเพิ่ม
ประสิทธิภาพของอินซูลิน และการจัดการกับน้ำตาลกูลโคส ป้อง
กันการเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ (เพราะว่ามีอินซูลินมากเกินไป)
หรือ โรคเบาหวาน(เพราะว่ามีอินซูลินน้อยเกินไป)

จากการศึกษาพบว่าโครเมียม แบบที่เรียกว่า โครเมียมพิกโคลิเนต
(Chromium Picolinate) มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงปริ มาณ
ของไขมันในร่างกาย
โดยพบว่า โครเมียมพิกโคลิเนต อาจจะลด
ปริมาณไขมัน และกระตุ้นการสร้างมวล
กล้ามเนื้อ โดยมีงานวิจัยที่
ทดลองให้โครเมียมพิกโคลิเนต ขนาด 400 ไมโครกรัมต่อวันกับ
อาสาสมัครเป็
นระยะเวลา 3 เดือนพบว่ามีการลดลงของปริมาณ
ไขมั
นในร่างกาย และน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ตาม การศึกษาอื่น
ก็ไม่สามารถยืนยั
ผลของโครเมียมพิกโคลิเนตต่อการเปลี่ยน
แปลงนี้ได้

ประโยชน์ของโครเมียม
คนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมโครเมียมเลย
หากสามารถรับ
ประทานได้จากอาหารได้อย่างเพียงพอ แต่ทั้งนี้
ในปัจจุบันอาหารที่
เรารับประทานมักจะผ่านกรรมวิธีมามากจนทำ
ให้สารอาหารต่างๆ รวมทั้ง โครเมียมถูกขจัดออกไปจากอาหาร
ทำให้
ในบางรายอาจจะจำเป็นต้องพิจารณารับประทานโครเมียม
เป็นอาหารเสริม เหมือนกับวิตามินตัวอื่นๆ

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย
จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่าโครเมียม
(ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่
นๆ)พบว่ามีผลในการลดระดับ คลอ
เลสเตอรอล ในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม
HDL หรือ คลอ
เรสเตอรอลชนิดดี และ ลดระดับคลอเรสเตอรอล ทั้งหมด

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน
ในผู้ป่วยโรค เบาหวาน แบบที่ 2 โครเมียมมีส่วนในการช่วยรักษา
ปริมาณน้ำตาล
ในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบ
ไฮเดรต) ในงานวิจัยพบว่าอินซูลิน
ที่หลั่งจากตับอ่อนจะมีความสัม
พันธ์กั
บระดับน้ำตาลในเลือด แต่ปัญหาคือเซลร่างกายผู้ป่วยไม่
ตอบสนองต่ออินซูลินโครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่

GTF
(Glucose tolerancefactor) โดยทำงานร่วมกับไนอาซิน
และกรดอะมิโนอีกหลายชนิดจะไปช่วยกระตุ้นให้
เซลร่างกายตอบ
สนองต่ออินซูลิ
นได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ระดับน้ำตาลเข้าสู่ระดับปกติ
มีการทดลองซึ่งเป็
นการทดลองแบบที่ทั้งผู้ทดสอบและผู้ถูกทด
สอบจะไม่มี
ใครทราบเลยว่าได้ยาที่มีส่วนผสมของโครเมียมหรือ
ไม่มี เพื่อตัดตัวแปรด้านความรู้สึ
กของผู้เข้าการทดลองที่อาจจะ
มี
ผลต่อการวัดผลในประสิทธิภาพของโครเมียมซึ่งผลการทดลอง
สนับสนุน
สรรพคุณด้านการลดน้ำตาลในเลือดของ โครเมียมเนื่อง
จากโครเมียมช่วยในการควบคุมระดับน้
ำตาลในเลือด และช่วยใน
การทำให้
glucose tolerance ดีขึ้นดังนั้นการได้รับโครเมียมจึงมี
ประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรค
เบาหวาน ชนิดที่ 2 คนที่มีอาการระดับน้ำ
ตาลในเลื
อดต่ำก็มีอาการดีขึ้น เมื่อได้รับโครเมียม 200 ไมโคร
กรัมต่อวัน

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก
มีเพียงโครเมียมพิกโคลิเนตที่แสดงผลในเรื่องนี้คือมันไปช่วยเร่ง
การเผาผลาญ
ไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการ
ศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่
เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่
างๆ ในเทกซัสได้รับโครเมียมจำนวน
400 ไมโครกรัมต่อวันของโครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอก
เป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือนคนที่ได้รับโครเมียม มีไขมันในร่าง
กาย
ลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลด
ลงเพี
ยง 3 ปอนด์(1.3 กิโลกรัม)

นอกจากนี้จากผลการทดลองดังกล่าวจึงมีการใช้ โครเมียมพิกโค
ลิเนตในกลุ่มผู้รักการออกกำลังกายเพื่
อที่จะช่วยเพิ่มมวลกล้าม
เนื้อ และลดไขมันในร่าง
กาย เมื่อรับประทานโครเมียมพิกโคลิเนต
ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่
ำเสมอ

แหล่งที่พบโครเมียม
แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือในยีสต์ (Brewer's yeast) นอก
จากนั้นก็ยังพบใน
เมล็ดธัญพืชและซีเรียลซึ่งปรกติจะถูกทำลายไป
ในระหว่
างกระบวนการผลิตเบียร์บางยี่ห้อก็อาจจะมีโครเมียมใน
ปริมาณมาก

ใครที่จะขาดโครเมียม
เนื่องจากคนทั่วไปได้รับ โครเมียมในปริมาณที่ต่ำกว่าที่ US RDA
ได้แนะนำไว้คือ
50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน และ ประมาณ 3 %
ของโครเมียม ในอาหารที่จะถูกดูด
ซึมเข้าสู่ร่ างกาย คนทั่วไปควร
ได้รับโครเมียม เป็นอาหารเสริมการที่รับประทานอาหาร
ประเภท
น้
ำตาลและอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง ก็อาจจะทำ
ให้เกิดการ
ขาดโครเมียม และเร่งให้เกิดโรคเบาหวานได้

พบว่า คนในกลุ่มผู้สูงอายุ นักกีฬาและหญิงมีครรภ์ เป็นกลุ่มที่
เสี่ยงต่อการขาด
โครเมียม มากที่สุดเมื่อร่างกายขาด โครเมียม
จะมีอาการต่อไปนี้ คือ มีการเปลี่
ยนแปลงระบบการเผาผลาญ
คาร์
โบไฮเดรค เช่นimpaired glucose tolerance,glycosuria,
อาการระดับน้ำตาลสูงเมื่
ออดอาหาร fasting hyperglycemia,
ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น และการทำงานของอินซูลินลดลง
(ซึ่งเหล่านี้ล้วนอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวาน)

ขนาดที่แนะนำ
ปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไปคือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

อาการข้างเคียง
ในปริมาณที่โครเมียมวางขายทั่วไป(50 – 300 ไมโครกรัมต่อวัน)
ไม่พบว่า
ก่อให้เกิด อาการเป็นพิษต่อร่างกาย (toxicity)อาหาร
เสริมโครเมียม อาจจะเพิ่ม หรือเข้าไปช่วยการทำงานของยารั
กษา
โรคเบาหวาน(เช่น อินซูลิน หรือ
ยาลดน้ำตาลอื่นๆ) และอาจทำให้
เกิดอาการระดับน้ำ
ตาลต่ำได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงควร
ปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะทานอาหารเสริมโครเมียม

ผลต่ออาหารชนิดอื่นๆ
จากการศึกษาพบว่า วิตามินซีเพิ่มการดูดซึมของ โครเมียม จึงได้
มีการแนะนำให้
รับประทานร่ วมกันระหว่างวิตามินซี และ โครเมียม
หรือทานร่วมกับอาหารที่มี
วิตามินซี สูงๆ

ข้อระวังในการใช้
► ผู้ป่วยโรค เบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่ อนการรับ
ประทานเนื่องจาก
โครเมียม อาจจะไปมีผลทำให้ความต้องการอิ
ซูลิน หรือยาลดน้ำตาลในเลื
อดลดน้อยลงได้

► อย่ารับประทานพร้อมๆกับแคลเซียมคาร์บอเนต หรือยาลดกรด
ต่างๆในเวลาเดียว
กันเพราะมันอาจจะไปรบกวนการดูดซึมของโคร
เมียมได้

► การรับประทานโครเมียมในปริมาณสูงๆ อาจจะไปรบกวนการ
ดูดซึมสังกะสี (Zinc) ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มปริ
มาณการรับประ
ทานสังกะสีให้เพิ่มมากขึ้นแทน

แมกนีเซียม( Magnesium )

แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง
จัดอยู่ในกลุ่ม
เกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย (Macronutrients หรือ
Principal elements) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย
มนุษย์โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมี
ธาตุแมกนีเซียม เป็นองค์
ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้และเป็นส่วนประ
กอบสำคัญของเซลล์
ต่างๆกล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย(60-70%)พบในกระดูก
ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่
อนและของเหลวในร่างกาย
แมกนีเซียมมักอยู่ในของเหลวที่อยู่
ภายในเซลล์(Intracellular
fluid) เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของ
แมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่
กับโปรตีนเด็กแรกเกิดมีแมกนีเซียม
ต่ำ และเมื่อ
โตขึ้นจะมีแมกนีเซียม มากขึ้น

แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์(Co-factor)ที่สำคัญของเอ็นไซม์
ในร่
างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปร
ตีนต่างๆในร่างกายและเป็น
เกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจาก
แคลเซียมหากร่างกายได้รับไม่เพียงพอ
จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ
มากขึ้นแมกนีเซียม ยังทำหน้าที่ในการส่งผ่
านกระแสประสาท จึง
ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกั
บสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน
เครียด เป็นต้น และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคื
อเป็นตัวช่วยในการสะ
สม แคลเซียมเข้ากระดูกและลดความรุนแรงของโรคหัวใจวาย
เรื้อรัง
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มีน้อยคนมากๆ ที่จะได้รับ แมกนีเซียม
อย่างเพียงพอ
ต่อวันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เนื่องจากอา
หารที่ปรุงส่วนใหญ่
จะมีแร่ธาตุนี้อยู่น้อย การรับยาบางชนิดก็ส่ง
ผลให้เกิ
ดขาดแร่ธาตุแมกนีเซียมอีกทั้งโรคบางชนิดเช่นเบาหวาน
โรคติดเหล้าก็ส่งผลให้เกิดการขาดแร่ธาตุแมกนีเซียม
ได้เช่นกัน

ดังนั้นการรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า
ร่างกายได้รับ
แมกนีเซียม อย่างเพียงพอ ซึ่งเราจะพบ แมกนีเซียม
ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอส
พาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต
แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียม
ออกไซต์และแมกนีเซียมซัลเฟต

หน้าที่และประโยชน์
แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ด
เหนื่
อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอน
ไซม์ที่สำคัญที่สุ
ดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคล
เซียม อันเป็นประโยชน์ต่
อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย
แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่
เกี่ยวข้อง
กับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆมีผล
ต่อการทำงานของระบบ
ประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์
ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยหน้าที่และประ
โยชน์ของ แมกนีเซียม มีดังนี้

1. มีส่วนควบคุ มการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่น
เดียวกับ แคลเซียมโดยจำเป็นสำหรับการส่งสั
ญญาณทางประ
สาทและการหดตัวของกล้
ามเนื้อ

2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
ที่จำเป็นสำหรับการเผา
ผลาญสารอาหารและการสังเคราะห์โปรตีน

3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่
างกายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
ต้
านทานความหนาวในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียม
จะสูงขึ้น

4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดู
กและฟัน

5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็
นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี

6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียมฟอสฟอรัส โซเดียมและ
โพแทสเซียม

7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจโดยจะไปลดความดัน
เลือดลง และป้อง
กันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือด
แดงช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ

8. ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่
างในร่างกาย

9. อาจทำหน้าที่เป็นตั
วยาสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทา
อาการปวดไมเกรนและลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า
และช่วยให้นอนหลับโดยเป็นตัวที่
ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน

10.ป้องกันไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต

11.จำเป็นต่อการรวมตัวของparathyroid hormone ซึ่งมีบทบาท
ในการดึงเอาแคล
เซียมออกจากกระดูก

12.ป้องกันการแข็งตัวของเลือด

13.ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่
วย โรคหัวใจ

14.ป้องกันและรักษาโรคหอบหืด

15.บรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดื
อนโดยการคลาย
กล้ามเนื้อมดลูก

16.การรับประทานแมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมี

ครรภ์ที่มี
ระดับของแมกนีเซียมต่ำได้

17.ช่วยป้องกันการเกิดอาการไมเกรนคนที่มีปัญหาโรคไมเกรนมัก
จะมีปริมาณ
แมกนีเซียมในเลือดต่ำ

18.ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกั
บสมองได้เช่น ซึมเศร้าไมเกรน
เครียด

การควบคุมความดันโลหิต
อย่างที่เราทราบหากเราลดความดันลงมาความเสี่ยงต่ออาการหัว
ใจกำ
เริบหรืออาการหัวใจวายก็จะลดลงไปด้วย แมกนีเซียมจะไป
ช่วยให้กล้าม
เนื้อหัวใจคลายตัวลงร่วมกับมันยังไปช่วยปรับสมดุล
ของโปตัวเซี
ยมกับโซเดียมในเลือดให้สมดุล ส่งผลให้ความดันโล
หิ
ตลดลงตามไปด้วย มีการศึกษาเมื่อไม่นานนี้เองในชายหญิงจำ
นวน 60 คนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสู
งพบว่าแมกนีเซียมทำ
ให้ทั้งความดั
น Systolic และ Diastolic ลดลง ทั้งนี้โดยปกติ แมก
นีเซียมจะรับประทานควบคู่กับ แคลเซียมเพื่อประโยชน์ในการควบ

คุมความดั
นโลหิต แมกนีเซียมป้องกันแคลเซียมจับตัวอยู่ตามผนัง
หลอดเลือด
จึงป้องกันอาการหลอดเลือดแข็งตัวรักษาความดัน
โลหิตให้เป็นปกติ

การป้องกันโรคหัวใจ
การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจากแคลเซียม เข้าไปอยู่ภายใน
เซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความเครียดเข้
ามากระตุ้น และตัวที่
จะควบคุมการเคลื่
อนไหวของ แคลเซียมนี้ก็คือ แมกนีเซียมเมื่อ
แมกนีเซียมไม่พอ แคลเซียมจะไหลเข้าไปในเซลล์กล้าม
เนื้
มากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้
ามเนื้อไม่ปกติเกิด
อาการสั่น
เป็นตะคริวหากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริว จะทำให้
เกิดโรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เป็นต้น

ป้องกันโรคกระดูกพรุน
แมกนีเซียม จะช่วยในการสร้าง วิตามินดีในรูปแบบที่ร่างกายนำไป
ใช้
ประโยชน์ได้ในการสร้างเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและ
ฟัน ทำให้กระดูกและฟันมีความ
หนาแน่นเพิ่มขึ้น จึงช่วยทำให้
ขยายระยะเวลาในการเสื่
อมของกระดูกให้ยืดนานออกไป

แคลเซียม vs. แมกนีเซียม
หน้าที่ของ แมกนีเซียม ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเป็นตะคริว
คือ แมกนีเซียม
มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและ
กล้
ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียมโดยจำเป็นสำหรับการส่งสั
ญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้
ามเนื้อช่วยให้กล้ามเนื้อ
คลายตัวหลั
งจากการหดตัว การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจาก
แคลเซียม เข้าไปอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความ
เครียดเข้
ามากระตุ้น และตัวที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของ แคล
เซียม นี้ก็คือ แมกนีเซียม เมื่อแมกนีเซียม
ไม่พอ แคลเซียม จะ
ไหลเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้
อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัว
ของกล้
ามเนื้อ ไม่ปกติ เกิดอาการสั่น ถ้าขาดมากๆ กล้ามเนื้อจะ
หดเกร็งอย่างรุนแรงและเป็นตะคริวได้ ด้านอารมณ์จะรู้สึกหงุดหงิด
สับสน ตื่นเต้นง่าย หากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริวจะทำให้เกิด
โรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจ
แข็งตัว เป็นต้น แมกนีเซียมป้องกัน
แคลเซียมจับตั
วอยู่ตามผนังหลอดเลือดจึงป้องกันอาการหลอด
เลือดแข็งตัว รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ

ในโลกของแร่ธาตุตามธรรมชาติ แคลเซียม และ แมกนีเซียมต้อง
ทำหน้าที่ร่วม
กันโดยจะแยกออกจากกันมิได้ แมกนีเซียมช่วยร่าง
กายในการดูดซึมแคลเซียม
และ แคลเซียม ก็มีความสำคัญอย่าง
ใหญ่หลวงต่
อร่างกายในการย่อยสลายแมกนีเซียม แคลเซียมนั้น
ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่สร้
างเสริมกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยัง
ช่วยป้องกันภาวะกระดู
กเปราะ กระดูกพรุน และยังช่วยในเรื่อง
การเจริญเติ
บโตบำรุงระบบประสาทระบบสืบพันธุ์ป้องกันการหด
ตัวของกล้ามเนื้
อและกระบวนการการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ
อื่นๆของร่างกายในขณะที่แมกนีเซียมจะช่วย
แคลเซียมสร้างเสริม
ความแข็งแรงให้กั
บกระดูก ควบคุมการหดตัวและคลายตัวของ
กล้
ามเนื้อให้อยู่ในระดับปกติ ป้องกันการเป็นตะคริวกระตุ้นระบบ
ประสาทควบคุมการใช้
น้ำตาลของร่างกาย รวมถึงช่วยให้ร่าง
กายผลิตโปรตี
นอันเป็นปัจจัยสำคัญในการบำรุกล้ามเนื้อ และ
เซลล์ต่างๆ
ในหลอดเลือดไหลได้สะดวก และหากสาเหตุของ
การเป็น
ตะคริวเกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือสตรีมี
ครรภ์ที่มีระดั
บของแคลเซียมในเลือดต่ำและควรจะบริโภค
แคลเซียม เสริม ก็ควรจะบริโภค แมกนีเซียมเสริมด้วย
เนื่องจาก
แคลเซียม และแมกนีเซียมจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน

ในการรับประทานแมกนีเซียมควรควบคุมปริมาณของแคลเซียม
ควบคู่ไปด้วยโดยอัตราส่วนของแคลเซียม ต่อแมกนีเซียมในอุ
ดมคติได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ
1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน
ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300
มก. แต่ในความ
เป็นจริงคนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก.
ใน
ขณะที่แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้
องกันโรคกระ
ดูกในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริ
มาณของแมกนีเซียมด้วยเช่น
กัน ผู้ดื่มนมในปริมาณ
มาก ควรหันมาบริโภคแมกนีเซียมให้
มากขึ้นหากได้รับแคลเซียมมากเกินไป จะไปขัดขวางการดูด
ซึมแมกนีเซียมในร่างกาย

สาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริว ได้แก่การที่ร่างกายเสียสมดุล
ระหว่
างแร่ธาตุแคลเซียม และ แมกนีเซียม และ/หรือขาด
วิตามินอี ดังนั้นจึงควรจะรับประทาน
แมกนีเซียม และ แคล
เซียม ให้สมดุลกัน โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ
แมกนี
เซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โดย
อาหารที่มีแคลเซียม
มากได้แก่ นมผักใบเขียว งากุ้งแห้ง ปลา
เล็กปลาน้อยที่กินทั้งกระดูก เป็นต้น
ส่วนอาหารที่มีแมกนี
เซียม สูง ได้แก่ ผลไม้เปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช
(เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้สี) และผักใบเขียว เป็นต้น

ขนาดรับประทาน
มาตรฐาน กำหนด (อย.)
เด็กทารกต้องการประมาณวันละ 50-70 มก.
เด็กโต ต้องการประมาณวันละ 150-250 มก.
ผู้ใหญ่ต้องการประมาณวันละ 350-450 มก.
หญิงมีครรภ์และระยะให้นมบุ
ตรประมาณวันละ450-600มก.

อาหารทั่วไปที่มี
แมกนีเซียม ประมาณ 300-800 มก.ก็จะ
เพียงพอกับความต้องการของร่
างกายได้

ผลของการรับประทานแมกนีเซียมไม่เพียงพอ
จากการทดลองกับสัตว์พบว่า ถ้าให้อาหารที่มีแมกนีเซียมต่ำ
เป็นเวลานานจะทำ
ให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท
กล้ามเนื้อไต หัวใจ และหลอดเลือด คนสูงอายุที่กินอาหารไม่มี
แมกนี
เซียมนาน100 วันขึ้นไปมักแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับการ
ย่อยอาหาร และการทำงานของระบบประสาท
อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบปัญหาการขาดแมกนีเซี
ยมในคนปกติ ผู้ที่
เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและคนไข้ที่อด
อาหารเป็
นเวลานานหลังการผ่าตัดอาจมีอาการขาดแมกนีเซียม
ได้ คนพวกนี้มักมีแมกนีเซียม ในเลือดต่ำ และมีอาการชัก
คล้ายการขาด แคลเซียม (แคลเซียม ในเลือดมักต่ำด้วย)

การขาดแมกนีเซียมจะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายต่ำลง
ระบบกล้ามเนื้อและระบบการย่
อยอาหารจะทำงานผิดปกติ ระบบ
ประสาทจะ
ถูกทำลายและประสาทรับรู้อาการเจ็บปวดจะไวขึ้นกระ
ดูกอ่อนจนร่างกายรับ
น้ำหนักไม่ไหวและร่ายกายจะสร้างโปรตี
ทดแทนไม่ได้ตามปกติ นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม จะทำให้
ร่างกายเก็บสะสมพลั
งงานไว้ไม่ได้ สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศไม่ได้
เลือดแข็งตัวช้า

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม
ความเครียดทำให้ แมกนีเซียมถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า เนื้อและอา
หารที่ผ่าน
กรรมวิธี ปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอส
ฟอรั
สมากซึ่งจะไปขัดขวางการดูดซึมแมกนีเซียมการดื่มแอลกอ
ฮอล์ในปริมาณมากการใช้ยา
ขับปัสสาวะก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนี
เซียมได้เช่นกัน รวมทั้งผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน
มีโอกาสขาดแมกนี
เซียม ได้ง่าย

การดูดซึมจะถูกควบคุมด้วยพาราธัยรอยด์ ฮอร์โมน และจำนวน
ของแคลเซียม และฟอสฟอรัสในอาหาร กรดไฟติกที่พบในข้าว
อาจป้องกั
นการดูดซึมของแมกนีเซียม อัลโดสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์
โมนหลั
่งจากต่อมแอดรีนัลจะคอยควบคุจำนวนของ แมกนีเซียม
ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะและการดื่ม
เหล้าจะ
เพิ่มจำนวนของแมกนีเซียม ที่สูญเสียไปทางปัสสาวะ การได้รับ
ฟลูออไรด์
หรือสังกะสีปริมาณมากๆ จะไปเพิ่มการขับถ่าย แมกนี
เซียม ทางปัสสาวะให้มาก
ขึ้นเช่นกัน

ผลการรับประทานแมกนีเซียมมากเกินไป
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษของการรับประทาน แมกนี
เซียมมากไป มีผู้รายงานว่าอาหารที่มี แมกนีเซียมสูงอาจช่วยป้อง
กันโรคหัวใจ และหลอด
เลือดตีบได้

ในกรณีปกติหากได้รับแมกนีเซียมมากเกินไป ไตจะทำการขับออก
นอกร่างกายแต่ในคนที่เป็นโรคไต แมกนีเซียม ที่มากเกินไปอาจ
ไม่ถูกขั
บออกมาอย่างพอเพียง จึงทำให้เกิดอาการเป็นพิษ คือ
ท้องร่วง และอัตราส่วนของ แคลเซียม-แมกนีเซียม
ไม่สมดุล เป็น
ผลให้เกิดการซึมเศร้าเนื่
องจากระบบประสาทส่วนกลาง

การรับประทานแมกนีเซียม
แนะนำให้รับประทาน แมกนีเซียมเป็นอาหารเสริมประมาณวันละ
300 มก.และควร
รับประทาน แมกนีเซียมที่ไม่มีผลทำให้เกิดอา
การถ่
ายเหลวเช่นแมกนีเซียมออกไซด์ และแมกนีเซียม ฟอสเฟต
ซึ่งร่างกายจะได้รับธาตุฟอสฟอรั
ส ช่วยในการสร้างความหนา
แน่
นของกระดูก

ข้อควรระวังในการรับประทานแมกนีเซียม
คือ ควรควบคุมปริมาณของแคลเซียมควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วน
ของแคลเซียม
ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1
ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก.
แมกนีเซียม 300 มก.แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่
ได้รับ
แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก.ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมา
บริโภคมากขึ้น
เพื่อป้ องกันโรคกระดูกในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับ
ปริ
มาณของแมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควร
หันมาบริโภคแมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับแคลเซียมมากเกิน
ไปจะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย

แมกนีเซียมเหมาะสำหรับใคร

► ผู้มีความเครียดสูง

► ผู้ที่มือเท้าชาบ่อยๆ หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ

► ผู้ที่เป็นโรคลมบ้าหมู (ควรปรึกษาแพทย์)

► ผู้ที่ทานนม อาหารปรุงแต่ง น้ำอัดลมเหล้า ในปริมาณมาก

► ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ

► ผู้ที่ต้องการป้องกันตนเองจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือด
แข็งตัว โรคหัวใจ นิ่วในไต โรคกระดูก osteoporosis

► ผู้สูงอายุ เพื่อบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริม
สร้างกระดูก