Welcome to my blog, hope you enjoy reading
RSS

ปริมาณแคลอรี่ของคนที่ใช้พลังงานแบบต่าง ๆ

1. คนที่ใช้พลังงานน้อย คือ คนที่อยู่บ้านเฉย ๆ ทำงานบ้านแบบเบา ๆ นั่งทำงานอยู่กับที่ หรือคนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก ความต้องการพลังงานจึงค่อนข้างต่ำ ประมาณ 1,400 -1,600 กิโลแคลอรี่ ต่อวันแต่ถ้าต้องการลดน้ำหนัก ควรได้รับปริมาณแคลอรี่ 1,000 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

อาหารที่ควรรับประทานคือ
อาหารช่วยเร่งการเผาผลาญ ได้แก่ พริกไทย กระเทียม ชาเขียว ถั่วเมล็ดแห้ง ผักสดต่างๆ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

อาหารที่ช่วยเสิมสร้างกระดูก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนมสดไขมันต่ำ ปลาเล็กปลาน้อยที่ทานได้ทั้งตัว งาดำ ถั่วพู ตำลึง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หรือรับประทานให้น้อยที่สุด ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ หนังหมู อาหารมันทุกชนิด เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ข้าวพัด อาหารทะเล แกงกะทิ เค้ก คุกกี้ ไอศครีม

2. คนที่ใช้พลังงานปานกลาง คือ คนที่ทำงานออฟฟิศ หรือนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน นักศึกษา แพทย์ ข้าราชการ อาจารย์ ซึ่งมักจะใช้สมอง มากกว่าแรงงาน ความต้องการพลังงานอยู่ในระดับปานกลาง ประมาณ 1,600 -1,800 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน แต่ถ้าต้องการลดน้ำหนัก ควรได้รับปริมาณแคลอรี่ 1,200 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

อาหารที่ควรรับประทานคือ
อาหารที่ช่วยบำรุงสมอง ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำมันปลา

อาหารที่ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลส้ม ผักสีเขียว สีแดง สีม่วง สีส้ม

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่เพิ่มความเครียด ได้แก่ ช็อกโกแลต กาแฟ แอลกอฮอล์ ขนมรสหวานจัด น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง

3. คนที่ใช้พลังงานค่อนข้างมาก คือ คนที่ีทำงานเคลื่อนไหวร่างกายเกือบตลอดเวลา หรือคนที่ออกกำลังกาย 5-7 วันต่อสัปดาห์

อาหารที่ควรรับประทานคือ
อาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ที่ไม่ติดมัน ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม ธัญพืชต่างๆ นมสดไขมันต่ำ

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ กล้วย มันฝรั่ง น้ำผลไม้ ไข่ นมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ เมล็ดทานตะวัน

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง

4. คนที่ใช้พลังงานมาก คือ คนที่ทำงานกลางแจ้ง มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา นักกีฬา ความต้องการพลังงานของร่างกายอยู่ในระดับสูงมากคือ 2,200 - 2,600 กิโลแคลอรี่

อาหารที่ควรรับประทานคือ
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวซ้อมมือหรือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ธัญพืชต่าง ๆ ข้าวโอ๊ต ข้าวโพดต้ม มันฝรั่งอบ

อาหารที่ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ เนื้อปลาทะเล ผักตระกูลกะหล่ำ ผลไม้ที่มีรสไม่หวานมาก เช่น ส้ม ฝรั่ง สาลี่ สตรอว์เบอร์รี่ และควรดื่มน้ำวันละไม่ต่ำกว่า 2 ลิตร

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ได้แก่ อาหารที่มีไขมันและ คอเลสเตอรอลสูง อาหารรสเค็ม

วิธีคำนวณหาน้ำหนักมาตรฐาน

สาว ๆ หลายคนคงจะกังวลกับรูปร่างของตัวเองว่า เอ๊ะ! เราอวบไปไหม เราอ้วนไปแล้วหรือเปล่า การจะดูว่ารูปร่างของคุณอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่นั้น นอกจากจะดูที่ส่วนสูงและน้ำหนักแล้ว ยังต้องดูที่โครงสร้างของร่างกายโดยรวมประกอบไปด้วย ซึ่งมีวิธีคำนวณดั้งนี้ค่ะ นั่นคือการใช้ขนาดของข้อมือเป็นเกณฑ์วัด

เกณฑ์วัดสำหรับผู้หญิงนะคะ ถ้าอยากรู้ว่าคุณเป็นคนโครงสร้างของร่างกาย ใหญ่ กลาง เล็กนั้น นิยมวัดรอบข้อมือ โดยใช้สายวัดหรือ ตลับเมตรนั่นแหละค่ะ

โครงสร้างเล็ก รอบข้อมือ = 5 - 5.5 นิ้ว
โครงสร้างปานกลาง รอบข้อมือ = 5.5 - 6 นิ้ว
โครงสร้างใหญ่ รอบข้อมือ = 6 - 6.5 นิ้ว

ทีนี้สาวๆ รู้แล้วใช่ไหมค่ะ ว่าตัวเองมีโครงสร้างแบบใด