Welcome to my blog, hope you enjoy reading
RSS

รสชาติของอาหารต่อร่างกาย

ลิ้นของคนเรามีตุ่มรับรสอยู่ 5 รส คือ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม เผ็ด ซึ่งรส
ทั้งห้านี้แต่ละรสนี้ก็ยังมีความสำคัญต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่างกัน
ไปด้วย

* อาหารรสหวาน ความหวานนี้ได้จากน้ำผึ้ง หรือผลไม้ต่าง ๆ นั้นมีประ
โยชน์ต่อระบบย่อย การทำงานของม้าม และช่วยเสริมการทำงานของระ
บบไหลเวียนโลหิต แต่ถ้ากินหวานมากเกินไป โดยเฉพาะของหวานอย่าง
เบเกอรี่ หรือลูกกวาด ก็จะทำให้อ้วนและเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

* อาหารรสเค็ม ความเค็มที่มีประโยชน์คือ ความเค็มที่ได้รับจากการกิน
อาหาร ที่มีส่วนผสมของเกลืออยู่อย่างพอเหมาะ จะช่วยให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ
ในร่างกายกักเก็บน้ำไว้ได้ดีขึ้น และทำให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ดี แต่
ถ้ากินเค็มมากเกินไปก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้

* อาหารรสเปรี้ยว การกินผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว ฝรั่ง ส้ม จะทำให้
ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ จึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกัน
โรคหวัด หรือต่อสู้กับไวรัสที่เข้ามาทำร้ายสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีประ
โยชน์ต่อตับและถุงน้ำดี ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น แต่การกิน
เปรี้ยวมากไปก็อาจมีผลทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง หรือเป็นแผลได้

* อาหารรสขม รสขมจากพืชผัก สมุนไพรอย่าง คะน้า กวางตุ้ง ฟ้าทลาย
โจร มีประโยชน์ต่อหัวใจ ช่วยในการทำงานของระบบย่อย และดูดซึมสาร
อาหาร รวมไปถึงระบบการขับถ่ายของเสีย นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระ
ที่อุดมอยู่ในผักใบเขียว ยังช่วยบำรุงสมองให้มีความจำที่ดี และป้องกัน
โรคมะเร็งลำไส้

* อาหารรสเผ็ด สมุนไพรอาทิ พริก กระเทียม พริกไทย ขิง จะช่วยกระตุ้น
ให้เจริญอาหาร ขับสารพิษ และช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตคล่องตัวขึ้น
แต่การกินพริกมากเกินไปอาจสร้างความระคายเคืองให้กระเพาะอาหารได้
ส่วนการกินกระเทียมในปริมาณมาก ๆ ก็อาจส่งผลกลับกัน จากที่ช่วยย่อย
ก็อาจจะทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อแทน